วันศุกร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559

Scalping คืออะไร

Scalping คืออะไร (1)

Scalping คืออะไร

ผมเชื่อว่าคำศัพท์คำนี้อาจจะดูเป็นอะไรที่เข้าใจยากสำหรับมือใหม่ กับคำว่า Scalping ว่าคืออะไร และทำกันอย่างไร ซึ่งจริงๆแล้วคำศัพท์คำนี้นั้นไม่ยากเลยในการทำความเข้าใจในส่วนของความหมาย และถ้าคุณมีความเชี่ยวชาญทางเทคนิคแล้ว การทำ Scalping จะช่วยให้คุณสามารถทำกำไรได้มากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย

Scalping คืออะไร

Scalping คือการเทรดทำกำไรในช่วงสั้นๆ โดยมักจะอยู่ระหว่าง 5-20 pip ต่อการเทรดทำกำไรหนึ่งครั้ง โดยหลักการเทรดแบบนี้มีความเชื่อว่าการแกว่งตัวที่น้อยที่สุดนี้สามารถทำกำไรได้อย่างปลอดภัยมากที่สุด ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นพวกการเทรด Lot ใหญ่ๆ ซึ่งแม้เพียง 2-5 pip ก็สามารถทำเงินได้อย่างมหาศาลแล้ว

ข้อควรรู้ในการทำ Scalping

  1. การทำ Scalping เป็นการทำการเปิดออเดอร์ซื้อขาย แบบเล็กๆ โดยจะเลือกทำกำไรที่จำนวน pip ไม่มาก อาจน้อยมากจนเหลือแค่ 1 pip หรือสูงสุดไม่เกิน 15 pip
  1. การทำ Scalping มีความเสี่ยงอยู่เหมือนกันและไม่น้อยกว่าการเทรดแบบอื่นๆ และเนื่องจากการเทรดแบบนี้เราจะต้องเฝ้ากราฟตลอดจึงถือว่าเป็นการเทรดที่ควบคุมความเสี่ยงได้มาก(ถ้าเราคุมอารมณ์ตัวเองได้นะครับ)
  1. การทำ Scalping ต้องดูเงื่อนไขของบัญชีต่างๆด้วยว่ามีการอนุญาตมากน้อยแค่ไหนในการทำ แต่ละโบรกเกอร์ก็จะแตกต่างกันไป แต่โดยปกติแล้วโดยรวมๆจะเป็นดังนี้ครับ
  • บัญชีไมโคร - ไม่อนุญาตให้เทรดแบบ Scalping
  • บัญชีมินิ - ไม่อนุญาตให้เทรดแบบ Scalping
  • บัญชี Nano - ไม่อนุญาตให้เทรดแบบ Scalping
  • บัญชี ECN Interbank - ไม่อนุญาตให้เทรดแบบ Scalping
  • บัญชี ECN Scalping - อนุญาตให้เทรดแบบ Non-Aggressive Scalping ได้ (Scalping ได้ไม่เกิน 50% ของออเดอร์ทั้งหมด)
  1. เหมาะกับตลาดราคาวิ่งในกรอบ ถ้าตลาดมีเทรนด์หรือแกว่งแรง ความเสี่ยงจะสูงขึ้นตาม ถ้าจะ Scalping ก็ไม่ควรฝืน trend รอซื้อตามแนวรับ หรือรอรับในช่วงที่ย่อตัวครับ

อินดี้ที่เหมาะสมกับการทำ Scalping

คุณสามารถเลือกใช้อินดี้ที่เหมาะสมตามที่ตัวเองต้องการในการเทรดได้เลย แต่การตั้ง Time Frame (TF) นั้นมักจะใช้ TF ที่ 1 นาที หรือ 5 นาทีในการเทรด Scalping เท่านั้น
Scalping คืออะไร (2)

เทคนิคของการเทรด Scalping

  • หัวใจของการเทรดแบบ Scalping คือ “เข้าทำกำไรให้ไว รีบออกให้ไว เน้นกำไรจุดน้อยๆแต่บ่อยๆ” จะไม่ถือ position นานเด็ดขาด
  • ตั้ง risk/reward ประมาณ 1:1 ถ้ากำไรแล้วต้องรีบออกทันที อย่าคิด let profit run อย่ามัวแต่เสียดาย ตัวอย่างการตั้งค่าเช่น ซื้อ true 10 $ ตั้งขาย 10.10 $ Cut Loss 90 $
  • Win/loss ratio ต้องสูง การ Scalping เราอาศัยหลักการ “กำไรน้อยได้ง่าย กำไรมากได้ยาก” ดังนั้น%ความถูกต้องจะต้องสูงกว่า%ผิด คืออย่างน้อยควรมากกว่า 2:1
  • จงมีวินัยต่อ Cut Loss สูง ห้ามขาดทุนก้อนใหญ่เด็ดขาด การ Scalping จะอาศัยเก็บกำไรทีละน้อยๆแต่อาศัยบ่อยๆ ถ้าเราขาดทุนก้อนใหญ่กำไรที่สะสมเอาไว้จะหมดทันที
  • เน้นจำนวนรอบ การเทรด Scalping เราต้องอาศัยความถี่ วันหนึ่งอาจเป็นสิบรอบ ถึงหลักร้อยรอบครับ
Scalping คืออะไร (3)

สิ่งที่ต้องใส่ใจ ในการทำ Scalping

การทำ Scalping นั้นมีจุดที่ต้องระวังอยู่พอสมควร จุดหลักที่ต้องรู้คือ
  1. ค่าสเปรด การทำ Scalping โดยปกติจะทำอยู่ในระหว่างช่วง 5-20 pip เท่านั้น ดังนั้นคุณต้องไม่ลืมในการคิดค่าสเปรดเข้าไปด้วย ไม่อย่างนั้นแล้วเมื่อคุณทำ Scalping คุณจะขาดทุนในทุกออเดอร์ที่เข้าไปทันที
  1. อย่าลืมดูเงื่อนไขแต่ละบัญชีของแต่ละโบรกเกอร์ด้วย เพราะว่าในหลายๆโบรกและหลายๆประเภทบัญชีนั้นไม่อนุญาตให้มีการเทรดแบบ Scalping หรือสามารถเทรด Scalping ได้ แต่ว่าก็มีเงื่อนไขประกอบมากมาย ตรงนี้ต้องศึกษาให้ดีนะครับ ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวจะงงว่าทำไมเปิดออเดอร์ และกดปิดไม้ทันทีไม่ได้
  1. traders ส่วนมากจะควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้เมื่อเทรดด้วยเงินจริงๆ ดังนั้น กฎเหล็กข้อหนึ่งก็คือ ให้ทดลองการเทรด Scalping กับบัญชี Demo ก่อนให้ชำนาญและชิน เพราะไม่ได้ใช้เงินจริงๆในการเทรด ดังนั้นก็เลยไม่มีความเสี่ยงใดๆที่จะสูญเสียเงิน การเทรดแบบ scalping เทรดเดอร์จะต้องอยู่ในตลาดตลอดเวลา ซึ่งแน่นอนมันคือความเครียดที่จะนำไปสู่การกระทำที่ไม่รอบคอบและการตัดสินใจที่ผิดพลาดได้
Scalping คืออะไร (4)

บทสรุป

โดยสรุปแล้วถือว่ากลยุทธ์การเทรด forex แบบ Scalping เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่สามารถช่วยให้คุณทำกำไรได้ในระยะเวลาสั้นๆ และสามารถใช้เทคนิค Scalpingได้ดีในช่วงที่กราฟมีการสวิงตัวอย่างแรง โดยมากแล้วจะเกี่ยวข้องกับเรื่องของข่าวต่างๆนั้นเอง แต่ด้วยความที่มันสั้นมากๆ คุณจึงต้องระวังอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้กลยุทธ์นี้ในการเทรดประกอบด้วยเช่นเดียวกัน
สำหรับท่านที่ต้องการศึกษาจากวีดีโอเพิ่มเติม ลองเข้าไปดูที่ไฟล์นี้ได้เลยนะครับ

==========================================

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น