วันเสาร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

วิธืการดูทิศทางของแนวโน้ม คืออะไร

        การเทรดตามแนวโน้มก็เหมือนการว่ายน้ำตามกระแสน้ำที่ไหล ในขณะที่ทิศทางของแนวโน้มเป็นขาขึ้น คุณจะกล้าสวน Short ไหม? หรือคุณจะเทรดฝั่ง Long เกาะไปตามแนวโน้ม ซึ่งแน่นอนว่าเล่นตามกระแสของแนวโน้มนั้นง่ายกว่า แต่สิ่งที่มือใหม่มักพลาดคือ การเข้าตอนที่แนวโน้มนั้นใกล้จบแล้ว ดังนั้นจึงต้องอาศัยการวิเคราะห์แนวโน้มของราคาเพื่อสร้างประสิทธิภาพในการเทรดให้มากที่สุด

            โดยวิธีการดูทิศทางของแนวโน้มนั้น มีการเคลื่อนไหวของตลาดประกอบด้วย 3 สิ่ง คือ ขึ้น , ลง , Sideway

#1 Line graph
            วิธีที่ง่ายที่สุดและใช้ได้จริง คือการปรับกราฟเป็น Line graph จะทำให้มองแนวโน้มราคาออกได้ง่าย ตัดพวก noise ออกไปได้ (ใน bar graph และ candlestick graph แสดง High , Low ทำให้กราฟดูยาก) สามารถดูแนวโน้มโดยรวมได้ง่าย


#2 Highs และ Lows
            ตามหลักพื้นฐานของ Technical analysis เลยคือเมื่อราคาทำ Higher High และ Higher Low เป็นช่วงแนวโน้มขาขึ้น และถ้าราคาทำ Lower High และ Lower Low  เป็นช่วงแนวโน้มขาลง


#3 Moving Averages
            เป็นเครื่องมือที่นิยมใช้ในการกรองแนวโน้มมากที่สุด และมีประสิทธิภาพมากเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม มีบางสิ่งที่ต้องระวังในการใช้เส้นค่าเฉลี่ย คือ ช่วงที่ใช้คำนวณ ค่ามาก หรือน้อย จะมีผลต่อจะวิเคราะห์ เช่นถ้าใช้ค่าน้อย เส้นค่าเฉลี่ยก็จะตอบสนองต่อราคาไวกว่า ให้สัญญาณเร็วกว่า แต่จะเจอสัญญาณหลอกบ่อยกว่า


#4 Channels และ Trend line
            Channels และ Trend line เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถใช้วิเคราะห์ทิศทางของแนวโน้มราคาได้ และสามารถพิจารณาในช่วงตลาด Sideway ได้เช่นกัน และยังสามารถใช้ประกอบกับเส้นค่าเฉลี่ยได้เช่นกัน


#5 ADX indicator
            เป็นเครื่องมือที่ใช้ดูทิศทางของแนวโน้มราคาและยังสามารถบ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของแนวโน้มในช่วงนั้นได้อีกเช่นกัน โดย ADX indicator ประกอบด้วย 3 เส้น คือ +DI , -DI และ ADI … +DI เป็นการแสดงถึงความแข็งแกร่งของ Bullish ส่วน –DI เป็นการแสดงถึงความแข็งแกร่งของ Bearish ส่วน ADI แสดงถึงความแข็งแกร่งของแนวโน้มในช่วงนั้น


            อย่างไรก็ตามทุกเครื่องมือและทุกกลยุทธ์ล้วนมีข้อจำกัด ไม่จำเป็นที่เทรดเดอร์จะต้องได้ 100% ชนะในทุกการเทรด ขอแค่เพียงครั้งที่ชนะของคุณมันใหญ่กว่าครั้งที่แพ้แค่นั้นก็เพียงพอแล้ว

ทีมงาน : forexthai.in.th

วันศุกร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

เทคนิคอ่านกราฟอย่างง่าย คืออะไร

        เทรดเดอร์หลายคนมักมีปัญหาในการตีความกราฟที่ซับซ้อนจนเกินไป จนทำให้การเทรดนั้นไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งในบทความนี้เราจะมาแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วย เทคนิคการการอ่าน Price action อย่างง่าย เพื่อให้เทรดเดอร์เข้าใจกราฟที่อ่านอย่างไม่สับสน และนำไปสู่การเทรดที่มีประสิทธิภาพ


#1 Swings – Highs และ Lows
            เป็น Basic ของ Technical analysis คือการใช้ทฤษฎี Dows ในการวิเคราะห์แนวโน้มว่าเป็นขาขึ้นหรือขาลง
            ขาขึ้น : ราคาทำ Higher high (ยอดสูงขึ้น) และ Higher Low (ฐานสูงขึ้น)
          ขาลง : ราคาทำ Lower High (ยอดต่ำลง) และ Lower Low (ฐานต่ำลง)

            ซึ่งจุด ยอด และ ฐาน สามารถพิจารณาได้จาก “รอบสวิง” ของราคา ตามธรรมชาติของราคาแล้วนั้น ราคาไม่ได้เคลื่อนไหวเป็นเส้นตรง มีการแกว่งตัวขึ้นลง อยู่ตลอดเวลา เทรดเดอร์สามารถอาศัยรอบการแกว่งตัวนี้สร้างข้อได้เปรียบในการเทรดได้เช่นกัน

            อย่างพวก Swing trader ก็จะซื้อในช่วงที่ราคาย่อตัวในแนวโน้มขาขึ้น หรือ ขายในช่วงราคาดีดตัวในแนวโน้มขาลง เพื่อที่จะได้ราคาที่ดีกว่า เป็นต้น

            และอีกการรอบสวิงนั้นยังสามารถบ่งบอกถึงพฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาได้อีกมุมหนึ่งคือ ความลึกในการ Pullback ถ้าหากการ Pullback หรือย่อตัว นั้นไม่ลึก แสดงถึงแนวโน้มในช่วงนั้นยังคงแข็งแกร่ง แต่ถ้าหากการ Pullback นั้นลึก แสดงว่าแนวโน้มนั้นเริ่มอ่อนแอลง

            ฟังดูหลักการเหล่านี้มันค่อนข้างง่าย แต่อยากบอกว่าการดู Price action ในลักษณะนี้มันค่อนข้างมีประสิทธิภาพในการใช้งานจริง

            จากกราฟด้านล่างแสดงถึงตัวอย่างการวิเคราะห์รอบสวิงของราคา จะเห็นได้ว่าช่วง Bear market หรือขาลง ราคาสร้าง Low ต่ำลง และ High ต่ำลง ซึ่งเราสามารถหาจังหวะ Short ในช่วงที่ราคา Pullback กลับขึ้นมาได้ และในช่วงที่เปลี่ยนแนวโน้มจากขาลงเป็นขาขึ้นนั้น ราคากลับมายกฐานสูงขึ้น และยอดสูงขึ้น (เส้นสีแดง)


#2 แนวรับ แนวต้าน
            จุดที่ราคามักจะเกิดการกลับตัวเกิดขึ้น เมื่อราคาเข้าสู่บริเวณแนวรับ แนวต้านดังกล่าว ซึ่งเทรดเดอร์ส่วนมากทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นใช้เจ้าสิ่งนี้ในการเทรดทั้งสิ้น

            จากกราฟด้านบนจะสังเกตุได้ว่าในช่วงที่ราคาทดสอบระดับแนวรับแนวต้าน (เส้นปะ) มักจะการกลับตัวอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเทรดเดอร์สามารถนำประโยชน์ตรงนี้ไปประกอบการเทรดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            สิ่งที่อยากจะเสริมในการใช้แนวรับแนวต้านนั้น เราไม่ควรใช้เส้นแนวนอนแบบเส้นเดี่ยว เนื่องจากการเคลื่อนไหวจริงของราคานั้นไม่เป๊ะ 100% แนะนำให้ใช้เป็นโซน หรือบริเวณมากกว่า เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น

            ทริคการเทรด : เมื่อเราเห็นระดับแนวรับแนวต้านชัดเจนมากเท่าไหร่ มันแสดงว่าคนส่วนมากนั้นเห็นบริเวณนั้นมากเท่านั้น ซึ่งในการเทรดเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า คนส่วนมากมักผิด ในจังหวะที่ทุกคนมีมุมมองเหมือนกัน เทรดในระดับราคาที่เหมือนกัน จังหวะนั้นมักผิดเสมอ ดังวงกลมสีแดงจากกราฟด้านบน คนส่วนมากมักเห็นว่าราคาทะลุผ่านแนวต้านสำคัญได้แล้ว จึงเปิด Long ตาม และสุดท้ายการทะลุนั้นเป็น Bull trap (หรือทะลุหลอก) ซึ่งเทรดเดอร์ควรระมัดระวังในเรื่องนี้

#3 Trend lines
            เป็นที่ถกเถียงกันมากว่าการตีเส้น Trend lines นั้นค่อนข้างเป็นอะไรที่ Subjective หรือคล้ายศิลปะ มากกว่า วิทยาศาสตร์ คือเวลาตีมันไม่มีถูกผิด สิ่งสำคัญเทรดเดอร์ต้องรู้ว่าเราตีไปเพื่ออะไร มิฉะนั้นการตีโดยไร้ความหมายนั้นก็ไม่แตกต่างอะไรกับการเทรดมั่วๆ

            เราไม่ควรใช้เส้น Trend lines เป็นจุด Trigger หรือจุด Buy sell ควรใช้เป็นตัวที่วิเคราะห์ภาพรวมมากกว่า ไว้ดูทิศทาง ไว้ดูแนวโน้ม ถ้าหากเราไปใช้เป็นจุด Buy sell แล้วนั้น จะเกิดข้อผิดพลาดเยอะมาก เทรดเดอร์ต้องระวังในจุดเช่นเดียวกันครับ


#4 เส้นค่าเฉลี่ย
            เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ใช้ง่ายในการเทรด แต่เต็มไปด้วยประสิทธิภาพ สามารถทำหน้าที่หลายหน้าที่ทั้ง
  1. จุดเข้า จุดออก
  2. แนวรับ แนวต้าน
  3. ดูทิศทางแนวโน้ม


            จากภาพด้านบน เส้นค่าเฉลี่ย 10 วัน (เส้นสีน้ำเงิน) เส้นระยะสั้น นั้นสามารถใช้เป็นจุดเข้า จุดออกของการเทรดได้ ส่วนเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน (เส้นสีม่วง) เส้นระยะยาว สามารถใช้เป็นแนวรับในจังหวะที่ราคาย่อตัวลงมา (ลูกศรสีดำ) และสามารถใช้ดูทิศทางของแนวโน้มใหญ่ได้ด้วย ถ้าราคาเคลื่อนไหวเหนือเส้นดังกล่าวเส้นถึงขาขึ้น แต่ถ้าต่ำกว่าแสดงถึงขาลง และในจุดที่กากบาท (สีน้ำ) เป็นช่วงเปลี่ยนแนวโน้มของแนวโน้มใหญ่จากขาขึ้นสู่ขาลง เนื่องจากราคากลับลงมาเคลื่อนไหวใต้เส้นดังกล่าว

ทีมงาน : forexthai.in.th

วันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยในการเทรด Pin bar คืออะไร

      เทรดเดอร์ที่เป็นสาย Price action มักใช้แท่งเทียนรูปแบบ Pin bar ในการประการเทรดเป็นส่วนหลักๆกันอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นรูปแบบที่เรียบง่าย และทรงประสิทธิภาพในการเทรด แต่ยังมักเห็นข้อผิดพลาดในการใช้รูปแบบ Pin bar อยู่บ่อยครั้ง ในบทความนี้จะมากล่าวอย่างละเอียดว่าข้อผิดพลาดที่พบบ่อยในการเทรด Pin bar นั้นมีอะไรบ้าง




#1 ไม่ดูแนวโน้ม
            สิ่งแรกที่เทรดเดอร์ควรพิจารณาเลยคือ ทิศทางของแนวโน้ม เราไม่ควรสวนเทรน อาศัยข้อได้เปรียบของการเทรดในช่วงที่ราคาเป็นแนวโน้ม เพื่อคอยเป็นแรงส่งให้ราคาปรับตัวไปในทิศทางที่เราคาดการณ์
            การใช้ Pin bar ในการเทรดนั้นควรอยู่ฝั่งเดียวกับแนวโน้มหลัก ไม่ควรสวนเทรน
          ไม่ควร
- แนวโน้มเป็นขาขึ้น แต่เจอ Bearish pin bar ก็ไม่ควรจะเปิด Short และตรงกันข้าม
- ถ้าแนวโน้มเป็นขาลง แต่เจอ Bullish pin bar ก็ไม่ควรจะเปิด Long
ควร
            - แนวโน้มเป็นขาขึ้น เจอ Bullish pin bar เปิด Long
          - แนวโน้มเป็นาขาลง เจอ Bearish pin bar เปิด Short

#2 ไม่ใช้กราฟรายวัน
            ส่วนตัวเชื่อว่าถ้าตราบใดที่ยังเทรดในภาพรายวันไม่ได้ ก็ไม่มีทางที่จะลงไปเทรดภาพที่เล็กลงไปอีกได้ เนื่องจากภาพรายวันนั้นเป็นพื้นฐานของการเทรดที่สุดแล้ว
            เหตุผลก็เพราะว่าในภาพที่เล็กลงไป เช่นพวกราย 5 นาที หรือ 15 นาที นั้นจะเจอ Noise หรือสัญญาณหลอกบ่อยมาก เทรดเดอร์ที่ขาดประสบการณ์หรือทักษะที่มากพอก็จะโดนในส่วนตรงนั้นเล่นงานได้ง่ายดาย
            การใช้ภาพรายวันนั้นให้ความหมายที่ดีกว่า มีเวลาคิดและไตร่ตรองมากกว่า อีกทั้งสะท้อนพฤติกรรมของราคาได้อย่างมีนัยสำคัญ เทรดเดอร์ควรโฟกัสตรงนี้มากกว่า

#3 ไม่รอสัญญาณร่วม
            Pin bar จะเป็นสัญญาณเทรดที่มีประสิทธิภาพอย่างมาก ถ้าเกิดในช่วงที่ถูกที่และถูกเวลา ซึ่งการใช้ Pin bar ร่วมกับสัญญาณอื่นๆ อย่าง แนวรับ แนวต้าน , แนวโน้ม , และต่างๆ จะยิ่งช่วยให้โอกาสการชนะในการเทรดนั้นสูงยิ่งขึ้นอย่างมาก
            ถ้าให้เลือกใช้ Price action ได้มาหนึ่งตัวในเทรด ส่วนตัวจะขอเลือก Pin bar ในการนำมาเทรด เนื่องจากมันค่อนข้างโอเคอย่างมากในการเทรด … โชคดีในการเทรดทุกท่านนะครับ

ทีมงาน : forexthai.in.th

3 กุญแจสำคัญในการจัดการตัวเอง คืออะไร

           การเทรดก็เปรียบเสมือนการทำธุรกิจ ถ้าธุรกิจเรานั้นได้รับการจัดการที่ดีอยู่ตลอดเวลาก็ทำจะให้ธุรกิจนั้นดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็เทรดก็เช่นกัน หากจะประสบความสำเร็จในตลาด Forex แห่งนี้ เทรดเดอร์ก็ควรเตรียมตัวเองให้พร้อมอยู่เสมอ มีการจัดการตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพอยู่ตลอด เพื่อที่จะสามารถเดินไปสู่เส้นทางที่เรียกว่าความสำเร็จ


กุญแจดอกที่ 1: มีความรับผิดชอบ
            เทรดเดอร์จะประสบความสำเร็จในอาชีพนี้ได้ อย่างแรกที่ต้องมีเลยคือ มีความรับผิดชอบที่เกิดขึ้นต่อการเทรดทุกครั้ง ต้องเข้าใจว่าทุกครั้งที่จะกด ซื้อ หรือ ขาย นั้นมันมาจากตัวเราเองทั้งสิ้น อย่าไปโทษคนอื่น เราตัดสินใจเอง เราต้องรับผิดชอบกับความจริงที่เกิดขึ้นในอนาคต ถ้าผิดพลาดต้องยอมรับ และปรับปรุงแก้ไขในส่วนนั้น ไม่ละเลิก ไม่โทษคนอื่น

กุญแจดอกที่ 2: รับรู้ว่ารู้สึกอะไร
            เมื่อไหร่ก็ตามที่เราเปิดสถานะ เราจะเริ่มมีอารมรณ์ร่วมกับการเคลื่อนไหวของราคา ถ้าถูกทางเราจะรู้สึกดีกับมัน แต่ถ้าผิดเราจะเริ่มกลัว กังวล เครียด และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งเทรดเดอร์ควรรู้ตัวเองว่า ณ ตอนนั้นอารมณ์เราเป็นอย่างไร เพื่อที่เราจะได้นำไปแก้ไขในสิ่งที่เกิดขึ้นได้
            ตัวอย่างเช่น เมื่อเทรดแล้วรู้สึกเครียด นอนไม่หลับ ให้มาสำรวจว่าทำไมเราถึงเครียด พยายามหาทางแก้ไข มาตรวจว่าเราเปิด Position เยอะเกินไปหรือเปล่า , หรือว่าเราไม่ทำตามแผนที่วางไว้ ซึ่งถ้าตระหนักรู้ในสิ่งที่เกิดขึ้นได้ เราก็จะแก้ไขมันได้ตรงจุด

กุญแจดอกที่ 3: โฟกัสที่กระบวนการ และเลิกคาดหวัง
            เทรดเดอร์มืออาชีพทุกคนจะสนใจ “ความเสี่ยง” มากกว่า “ผลตอบแทน” เนื่องจาก ความเสี่ยง นั้นเป็นสิ่งที่เทรดเดอร์ควบคุมได้ ทั้งวิธีการเทรด , ขนาดออเดอร์ , จุดตัดขาดทุน และ อื่นๆ แต่ ผลตอบแทน นั้นเป็นสิ่งที่เทรดเดอร์ควบคุมไม่ได้ มันมีจากตลาด ซึ่งตลาดเราไม่มีทางคาดเดาได้เลย เราไม่รู้หรอกว่าเดือนนี้เราจะได้กำไรกี่ % ตลาดจะเป็นคนให้เรามาเอง
            ดังนั้นเทรดเดอร์ควรโฟกัสที่กระบวนการเทรดต่างๆ ให้มากๆ และหยุดคิดเรื่องผลตอบแทนในอนาคต อย่าไปบีบตัวเองว่าต้องเทรดให้ได้เดือนละกี่ % ไม่งั้นการเทรดของเราจะพัง



ทีมงาน : forexthai.in.th

3 กลุ่มรูปแบบราคา คืออะไร

         เทรดเดอร์สายดู Chart patterns นั้นก็มักจะคุ้นกับรูปแบบราคาต่างๆ เช่น Double top , Head and shoulder , สามเหลี่ยม เป็นต้น ซึ่งในที่นี้เราจะมาสรุปประเภทของรูปแบบราคาต่างๆนี้ ออกมาเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. กลับตัว 2. ไปต่อ 3. ทั้ง 2 ทาง


  1. กลับตัว
            รูปแบบการกลับตัวคือเมื่อราคาฟอร์มตัวในรูปแบบดังกล่าวจะเป็นสัญญาณการกลับตัวจาก ขาลง ไปขาขึ้น หรือ จากขึ้น เป็นขาลง โดยรูปแบบการกลับตัวหลักๆมีอยู่ 6 รูปแบบคือ
            1.1 Double top
            1.2 Double bottom
            1.3 Head and shoulders
            1.4 Inverse head and shoulders



            ในการเทรดรูปแบบเหล่านี้ ทำให้อย่างง่ายดายโดยเพียงรอราคาทะลุผ่านเส้น Neckline และก็เข้าไปเปิดออเดอร์ในทิศทางเดียวกับแนวโน้มใหม่ ส่วนเป้าหมายการทำกำไรในแต่ละรูปแบบก็จะแตกต่างกันออกไป

2.ไปต่อ (Continuation)
            เมื่อเกิดรูปแบบราคาในลักษณะนี้ ราคามักจะไปต่อตามแนวโน้มเดิม เช่นเดิมขาขึ้น ก็เป็นการขึ้นต่อ แต่ถ้าเดิมขาลง ราคาก็ลงต่อ อย่างนี้เป็นต้น โดยรูปแบบการไปต่อนี้ก็ประกอบด้วย
            2.1 Falling wedge
            2.2 Rising wedge
            2.3 Bullish rectangle
            2.4 Bearish rectangle
            2.5 Bullish pennant
            2.6 Bearish pennant

            แต่ละรูปแบบก็น่าตาต่างกันออกไป เป้าหมายการทำกำไร หรือจุด Stop loss ก็ต่างกัน แต่หลักการเดียวกันคือเป็นการไปต่อของแนวโน้ม

  1. ทั้ง 2 ทาง
            รูปแบบนี้โอกาสการทะลุของราคาสามารถเกิดขึ้นไปทั้ง 2 ทางเลยคือ ไปต่อ กับ กลับตัว โดยรูปแบบนี้จะเป็นพวกรูปแบบสามเหลี่ยม
            3.1 Ascending triangle
            3.2 Descending triangle
            3.3 Symmetrical triangle


            อย่างไรก็ดีทุกรูปแบบราคาที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็มีโอกาสที่ราคาจะไปไม่ถึงเป้าหมายที่วางเป้าหมายหรืออาจเกิดความล้มเหลวในการสร้างรูปแบบก็ได้ ดังนั้นเทรดเดอร์ที่เทรดรูปแบบราคานั้นก็อย่าลืมวาง Stop loss ก็ด้วยนะ

ทีมงาน : forexthai.in.th

2-Period RSI คืออะไร

          หลายคนคงคุ้นเคยกับ RSI ที่ใช้ช่วงการคำนวณ 14 วัน เชื่อว่านักเทคนิคทุกคนทราบสิ่งนี้กันอยู่แล้ว แต่ยังมีแนวคิดนึงที่ฉีกออกจากคนทั่วไป โดยถูกนำเสนอโดย Larry Connors ที่เขาชี้ให้เห็นว่าการใช้ RSI ที่คนทั่วไปใช้กัน (14 วัน) มันไม่สามารถสร้างข้อได้เปรียบในการเทรดได้ หรือพูดๆง่ายคือ ใช้เทรดแล้วขาดทุนนั่นเอง เขาจึงได้นำเสนอวิธีการใช้ RSI อีกรูปแบบนึงที่แตกต่างการคนอื่น โดยปรับค่า RSI ให้เหลือ 2 ในการนำไปเทรด


            เข้าได้ทดสอบในดัชนี S&P500 โดยใช้เงื่อนไขการเข้า 4 อย่าง คือ
  1. เคลื่อนไหวเหนือเส้น 200 วัน
  2. RSI-2 ปิดต่ำกว่าระดับ 5
  3. เข้าซื้อที่ราคาปิด
  4. ขายเมื่อ S&P500 ขึ้นปิดเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 5 วัน
          ผลตอบแทน 1995 – 2007
                   จำนวนการเทรด : 49
                   อัตราการชนะ : 83.6%
                   ผลตอบแทน : 522.92 จุด
                   เฉลี่ยการถือครอง : 3 วันทำการ


ตัวอย่างการเข้าเทรด

  1. ในช่วงที่ดัชนีปรับตัวลงมา RSI-2 ลงต่ำกว่าระดับ 5 จะได้ระดับราคาซื้อที่ 1490.72 (ราคาปิดของวันนั้น)
  2. และมาขายเมื่อดัชนีกลับขึ้นมาปิดเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 5 วัน ซึ่งรอบนี้เก็บได้ประมาณ 25 จุด


ตัวอย่างการเข้าเทรด 2

  1. ซื้อเมื่อ RSI-2 ต่ำกว่าระดับ 5 ที่ราคาปิด
  2. ขายเมื่อราคาปิดเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 5 วัน

            ซึ่งกลยุทธ์นี้เป็นกลยุทธ์สาย Swing trade เราสามารถนำมาใช้ในตลาด Forex ได้เช่นกัน ลองนำไปศึกษาดู รับรองว่ากลยุทธ์นี้จะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถสร้างกำไรจากการเทรดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทีมงาน : forexthai.in.th