วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559

Commissions คืออะไร

  Commissions คืออะไร (9)

Commissions คืออะไร

คำศัพท์ forex ที่น่าสนใจคำต่อไป และมีประโยชน์มากเพราะจะเป็นเครื่องมือในการช่วยประเมินโบรกเกอร์ที่เราเลือกใช้บริการ ว่ามีความจริงใจกับเราขนาดไหน เอาเปรียบเรามากไปไหม? มาดูกันครับกับคำว่า Commissions นั้นมีความหมายว่าอย่างไรกันครับ

Commissions คืออะไร

Commission คือ ค่าธรรมเนียมที่โบรกเกอร์เรียกเก็บจากเทรดเดอร์ในฐานะผู้ให้บริการในการเทรด ซึ่งโบรกจะได้กำไรจากค่าธรรมเนียมตรงนี้แหละครับ แม้ว่าบางโบรกเขาจะบอกว่าไม่คิดค่า Commission เพราะว่าจริงๆแล้วเค้าได้บวกกับค่า Spread (ค่าส่วนต่างของราคาซื้อและราคาขายของตลาดในขณะนั้น) ไปแล้วนั่นเอง ซึ่งอาจจะคิดเพียงแค่ $0.1 ต่อการเทรด 1 lot ($100,000) ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพคล่องทางตลาด (liquidity) หรืออื่นๆ ตามแต่โบรกเกอร์นั้นๆจะคิดคำนวณช่องทางรายได้ของเขาครับ
แต่ทั้งนี้ก็มีบางโบรกที่เก็บค่า Commission เพราะว่าค่า Spread ของเค้าน้อย หรือบางโบรกหรือบางระบบบัญชีก็คิดทั้งสองอย่าง....ครับพวกที่ทำงานระบบการเงิน การธนาคาร โบรกเกอร์ ฯลฯ พวกนี้เขาจะสร้างอะไรที่สลับซับซ้อนให้เราตามไม่ทันเสมอๆอยู่แล้วครับ
Commissions คืออะไร (8)
แต่ Commissions อีกคำ จะหมายถึง ค่านายหน้าที่โบรกให้เราเวลาเราหาลูกค้าให้เขาได้ เป็นเงินพิเศษตอบแทนจากโบรกที่คุณนั้นทำการชักชวนคนมาสมัครสมาชิกและทำการเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์นั้นๆ เช่น ชวนคนมาสมัครเป็นสมาชิกของทางโบรกเกอร์ XM, FBS เป็นต้น โดยผู้ชักชวนจะได้รับทั้ง % จากการสมัคร และ % จากทุกๆยอดเทรดอีกด้วย ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการหาเงินเพิ่มขึ้นจากการเทรด forex ที่คุณควรรู้ แต่ในบทความนี้ผมจะข้ามไป เพราะได้กล่าวอย่างละเอียดในบทความ affiliate, IB, partners, รีเบต คืออะไร” แล้วครับ
Commissions คืออะไร (3)

ความจริงเกี่ยวกับเรื่อง Commissions

ในการเทรด forex นั้นเราจะต้องจ่ายค่าบริการให้โบรกเกอร์ ซึ่งเขาจะยอมเรียกว่าค่า Commissions หรือไม่ก็ตาม ซึ่งโดยรวมทั้งหมดหลายชั้นหลายซ้อนถือว่าสูงมาก เมื่อเทียบกับการซื้อขายหุ้น หรือกองทุนในบ้านเรา ซึ่งมีค่าคอมมิสชันจะอยู่ที่ประมาณ 0.2% ของมูลค่าที่ทำการเทรด
ดังนั้นการที่โบรคเกอร์ forex ส่วนใหญ่ ทำการตลาดโดยอ้างว่า ฟรีค่าคอมมิสชัน (Free Commissions) ที่จริงแล้วมันไม่จริงเสียทั้งหมดครับ ซึ่งมันอาจทำให้เราเข้าใจผิดได้
ในตลาด forex นั้น จะคล้ายๆ กับตลาดอื่นๆ นั่นคือมีการตั้งซื้อ(Bid) และตั้งขาย (Ask) ราคาตั้งซื้อคือราคาที่เราสามารถขายได้ในขณะนั้น ส่วนราคาตั้งขายก็คือราคาที่เราสามารถซื้อได้ในขณะนั้น
ผลต่างระหว่างราคาตั้งซื้อและตั้งขายนั้นเรียกว่า Spread ยกตัวอย่าง EUR/USD ราคา Bid ที่ 1.5157 และ Ask ที่ 1.5160 ดังนั้นค่า Spread ของ EUR/USD จะเท่ากับ 0.0003 หรือ 3 PIPS ถ้าเราทำการเปิด Order ทำการซื้อขณะนั้น เราจะซื้อได้ที่ 1.5160 และ Transaction ของเราจะขึ้นเป็น -3 PIPS ทันที ถ้าเราปิดออร์เดอร์ขณะนั้นโดยอัตราแลกเปลี่ยนยังไม่เปลี่ยนแปลงเราจะขายได้ที่ 1.5157 และขาดทุนทันที 0.0003 หรือ 3 PIPS
Commissions คืออะไร (7)

Spread ยิ่งกว้างค่า Commissions ยิ่งสูง

จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่าถ้ายิ่ง Spread กว้างมาก เราก็จะต้องจ่ายส่วนต่างนี้มากขึ้นไปด้วย ส่วนต่างตรงนี้เองที่เป็นรายได้ของโบรกเกอร์ และเราหรือผู้เทรดจำเป็นจะต้องจ่ายทุกครั้งที่เปิด Order และทำการเทรด(จริงๆ ถ้าจริงใจกันจริงๆ เขาควรจะเรียกกันไปเลยตรงๆว่า Commissions Spread ให้ชัดๆไปเลยใช่ไหมครับ นี่แหละคนหัวหมอหัวการเงินเขาคิดและทำกันแบบนี้แหละครับ หุหุ....)
บางคนอาจจะเห็นว่า เสียแค่ 0.0003 จากราคาประมาณ 1.4 นั้นไม่เท่าไหร่เอง... ถ้าคิดเป็น % ก็แค่ประมาณ 0.03% เอง แต่อย่าลืมนะครับว่าการเทรด Forex นั้นมีระบบ Leverage ถ้า Leverage ที่ 1:100 นั้นก็เสมือนว่าเราส่งคำสั่งซื้อด้วยเงินทุน 100 เท่าจากเงินทุนจริงของเรา ดังนั้นถ้าเทียบกับเงินทุนจริงของเรา มันจะไม่ใช่แค่ 0.03% แต่มันจะเป็น 3% นั้นเอง หรือถ้าเทรดในระบบ Leverage 1:500 จำนวนเงินตรงนี้ก็จะยิ่งสูงขึ้นไปอีกเป็น 15% ของเงินทุนจริงของเรา คราวนี้จะเห็นชัดเจนเลยใช่ไหมครับ ว่าเขาฟันกำไรไปเหนาะๆขนาดไหน แบบนี้เรียก “เสือนอนกิน” ดีๆนี่เอง
A man's hands cutting a $20 bil on a white background

Spread แต่ละโบรกเกอร์ แต่ละคู่เงิน แต่ละบัญชี แตกต่างกัน

Broker แต่ละที่จะมีค่า Spread ที่แตกต่างกันไป แต่ละบัญชีก็แตกต่างกัน รวมไปถึงคู่อัตราแลกเปลี่ยนแต่ละคู่ก็อาจมี Spread ที่แตกต่างกันด้วย หรือแม้กระทั้งคู่สกุลเงินคู่เดียวกัน แต่คนละช่วงเวลา บางโบรคเกอร์ค่า Spread ก็สามารถขึ้นลง และไม่ Fix ด้วยเช่นกัน ดังนั้นก่อนเปิดใช้บริการของโบรคเกอร์ ควรตรวจสอบค่า Spread ของโบรคเกอร์นั้นๆ ให้ดีก่อนนะครับ รวมไปถึงระบบ Spread ของโบรคเกอร์นั้น ๆ ว่าเป็นแบบ Fix คงที่ หรือเปลี่ยนแปลงได้ ในกรณีที่ใช้บริการของโบรคเกอร์ที่ไม่ Fix ค่า Spread ก่อนทำการเทรดทุกครั้ง ต้องตรวจสอบค่า Spread ในขณะนั้นก่อนส่งคำสั่ง ซื้อ-ขาย เพราะถ้ารีบร้อนเกินไป กลัวไม่ได้ราคาที่ลงไว้โดยไม่ได้ตรวจสอบ Spread ให้ดีๆ เมื่อคุณเข้าเทรดไปแล้วอาจจะตกใจภายหลังได้ครับ
จะเห็นได้ว่าการเลือกโบรกเกอร์ ค่า Spread ก็เป็นจุดสำคัญจุดหนึ่งที่สามารถลดค่าใช้จ่ายของเราได้ ถึงแม้มันจะน้อยเมื่อเทียบ กับราคาที่วิ่งขึ้น วิ่งลง ของอัตราแลกเปลี่ยน แต่ถ้าเราประหยัดตรงนี้ได้ แค่ 1-2% ต่อการเทรดแต่ละครั้ง แต่รวมๆ หลายๆ ครั้งก็เป็นจำนวนเงินไม่ใช่น้อยๆ เลยนะครับ
ดังนั้นที่ว่าโบรกเกอร์ forex หลายโบรกเกอร์ ได้โฆษณาว่าฟรีค่าคอมมิสชัน (Commission) นั้นโปรดเช็คค่าอื่นๆด้วย เช่น ค่า Spread เป็นต้นครับ
Commissions คืออะไร (5)

Swap : คำอีกคำที่เกี่ยวกับคอมมิสชั่น

ค่า Swap (อ่านว่า สวอป) คือค่าผลต่างของอัตราดอกเบี้ย overnight interest บางทีก็เรียก Rollove ตามคู่เงินที่เราเทรด โดยค่า Swap มีทั้งแบบ Debit or Credit คือมีค่าทั้งบวกและลบ เช่น ถ้าเรา Buy EUR/USD เราก็จะได้ค่าดอกเบี้ยของการถือออเดอร์ข้ามคืน แต่ถ้าเรา Sell เราก็จะเสียในส่วนนี้ 
ดังนั้น Swap ก็คือดอกเบี้ยที่เราจะได้หรือเสียไปให้กับโบรคเกอร์ เมื่อเราทำการเปิดออเดอร์ทิ้งไว้ข้ามคืน (ช่วงตี 4 – ตี 5 ในเวลาประเทศไทย ซึ่งก็แล้วแต่เวลาของ Server ในแต่ละโบรกเกอร์) ดังนั้น หากคุณไม่ต้องการให้มีค่า Swap ที่เป็นลบเกิดขึ้นกับคุณ ให้พึงระวังในการเปิดออเดอร์ข้ามคืน โดยเฉพาะการเปิดออเดอร์ที่มีเป็นจำนวนหลายๆสัญญา เป็นต้น
โดย Swap จะคิดค่าที่ 5 PM ตามเวลาของ New York ตั้งแต่เวลาเปิดจนกระทั่งตลาดปิด คำนวณแบบวันต่อวัน ซึ่งเวลาช้ากว่าประเทศไทยประมาณ 12 ชั่วโมง โดยทุกจุดที่เข้าเราซื้อ-ขายภายในช่วงเวลาก่อน 5PM จะเกิดค่า overnight interest
แต่ถ้าซื้อขายเวลา 5.01 PM จะถูกนับไปเป็นอีกวันหนึ่ง และค่า Swap +/- จะโชว์ขึ้นในบัญชีเทรดหลังจากเวลาปิดตลาดประมาณ 1 ชั่วโมง
อัตราค่า Swap นั้นแล้วแต่ที่โบรคเกอร์ของคุณกำหนดไว้ ส่วนใหญ่คุณจะต้องเสียค่า Swap เล็กน้อยจนถึงมาก โดยคืนวันเสาร์และอาทิตย์ไม่มีการคิดค่า Swap แต่จะไปทบในคืนวันพุธแทนซึ่งค่า Swap คืนวันพุธจะมีค่าเป็น 3 เท่าของค่า Swap ปกติ(ซึ่งตรงนี้เองที่หลายคนพลาดแล้วรู้สึกไม่แฟร์) เนื่องจากเป็นการรวบยอดจากคืนวันเสาร์-อาทิตย์มารวมไว้ด้วย โดยสรุปแล้ว Swap ถือเป็นคอมมิชชั่นแบบหนึ่งที่เป็นทั้งบวกและลบคือเราได้และเราจ่าย ซึ่งผมได้กล่าวเรื่อง Swap นี้อย่างละเอียดแล้วในบทความ “Swap คืออะไร” ลองเข้าไปอ่านดูได้ครับ

Commissions คืออะไร (6)บทสรุป ข้อเสนอแนะ

นับเป็นเรื่องยากทีเดียวที่จะทำการเปรียบเทียบแบบหมัดต่อหมด ถึงค่า Commissions หรือค่าบริการแฝงที่ทางโบรกเกอร์แต่ละโบรกเรียกเก็บจากเรา นอกจากต้องใช้สติและความละเอียดรอบคอบในการอ่าน และคิดตามอย่างถ้วนถี่แล้ว  ต้องมีความเข้าใจในวิถีทางการเงิน ตลอดจนแนวคิดของเขาอย่างถ่องแท้กันเลยทีเดียว จึงมีความพยายามจากบรรดาเซียนที่เจนสนาม ได้เรียบเรียง วิเคราะห์เรื่องนี้ไว้หลายๆเว็บ เกี่ยวกับข้อดี-ข้อเสียของแต่ละโบรกเกอร์ ซึ่งผมอยากจะแนะนำเว็บ www.thaiforexbroker.com เนื่องจากเป็นเว็บที่ติดตามความเคลื่อนไหวของโบรกเกอร์อย่างต่อเนื่อง และผมเห็นว่าเขาวิเคราะห์ออกมาได้ดีทีเดียวครับ ลองเข้าไปอ่านและเลือกสมัครผ่านลิงค์เพื่อเป็นกำลังใจแก่เขาได้ อย่างน้อยก็ถือว่าเงินทองจะได้ไม่รั่วไหลไปไหน ไม่ไปทางโบรก(ซึ่งล้วนเป็นของต่างชาติ)เสีย 100 % ยังแบ่งมาให้คนไทยด้วยกันบ้างครับ
==========================================

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น