วันจันทร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2559

โบรกเกอร์ Dealing Desks (DD) คืออะไร

     โบรกเกอร์ Dealing Desks (DD) คืออะไร (2)

โบรกเกอร์ Dealing Desks (DD) คืออะไร

โบรกเกอร์ที่ให้บริการเราในตลาดนั้นจะแบ่งออกมาเป็น 2 ประเภทคือ แบบ DD หรือ โบรกเกอร์ Dealing Desks กับอีกแบบคือ NDD ซึ่งทั้งสองประเภทนี้มีความแตกต่างกันในด้านการให้บริการการเทรด forex อย่างชัดเจน แต่สำหรับบทความนี้เราจะกล่าวเจาะประเด็นเฉพาะ DD เท่านั้น ถ้าพร้อมแล้วเรามาดูกันครับ
โบรกเกอร์ Dealing Desks (DD) คืออะไร (1)

ประเภทของโบรคเกอร์

โบรกเกอร์ ก็คือบริษัทที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการรับส่งคำสั่งของเราเข้าไปสู่ตลาด Forex โดยโบรกเกอร์จะมีอยู่ 2 ประเภทหลัก ๆ คือ
1.Dealing Desk (DD) หรือที่เรียกว่า Market Maker คือ โบรกเกอร์ที่ดำเนินการผ่านเคาน์เตอร์จัดการ (Dealing Desk) จะมีห้องรวบรวมข้อมูลของลูกค้าไว้ และจะมีพนักงานคอยตรวจสอบข้อมูลของลูกค้า ออร์เดอร์ที่คุณสั่งก็จะอยู่ในมือของโบรกเกอร์ เมื่อเราทำการซื้อขาย โบรกเกอร์ก็จะทำการจับคู่กับอีกฝั่งหนึ่งให้เรา
2.No Dealing Desk (NDD) คือ โบรกเกอร์ที่มีการส่งข้อมูล ด้านคำสั่งซื้อขายของเราเข้าไปที่ส่วนกลางโดยตรง โดยที่ไม่ผ่าน server หลักของทางโบรกเกอร์ก่อน สามารถแยกย่อยได้อีก คือ
  • Straight Through Processing (STP) คือ การประมวลผลโดยตรง
  • Electronic Communication Network + Straight Through Processing (ECN+STP) คือ ระบบอัตโนมัติเพื่อเก็บคำสั่งซื้อที่ตรงกัน + การประมวลผลโดยตรง
ซึ่งในบทความนี้จะขอเจาะประเด็นแต่เพียง Dealing Desk (DD) นะครับ เนื่องจากประเภทอื่นๆได้เขียนอย่างละเอียดไว้ในหัวข้อนั้นๆแล้วครับ ลองคลิกอ่านดูได้ เพราะถ้ารวมกันไว้ที่นี้หมด หน้าเว็บจะยาวไป คนอ่านคงตาลายครับ..555

โบรกเกอร์ Dealing Desks (DD) คืออะไร (8)โบรกเกอร์ Dealing Desks (DD) คืออะไร

โบรกเกอร์แบบ Dealing Desks (DD) หรือหลายคนอาจจะเรียกว่า  Market Maker คือ โบรกเกอร์ประเภทที่ไม่ได้ส่งคำสั่ง ซื้อ ขาย ของเราเข้าสู่ตลาดกลางโดยตรง คือจะเป็นไปในลักษณะ
ตัวเรา —> สั่งคำสั่งซื้อเข้า MT4 —> โบรกเกอร์
โบรกเกอร์จะดำเนินการผ่านเคาน์เตอร์จัดการ (Dealing Desk) โดยจะมีห้องรวบรวมข้อมูลของลูกค้าไว้ และจะมีพนักงานคอยตรวจสอบข้อมูลของลูกค้า ออร์เดอร์ที่คุณสั่งก็จะอยู่ในมือของโบรกเกอร์ เมื่อเราทำการซื้อขาย โบรกเกอร์ก็จะทำการจับคู่กับอีกฝั่งหนึ่งให้เรา เช่น เมื่อเราเปิดคำสั่ง Buy EUR/USD จำนวน 1 lot โบรคเกอร์จะพยายาม หาคำสั่ง Sell ของลูกค้ารายอื่นๆ มาจับคู่ กับออเดอร์ Buy ของเรา โดยหากจับคู่ไม่ได้ ก็จะส่งออเดอร์ของเรา ไปให้ฝ่ายบริหารจัดการสภาพคล่องของบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคลขนาดใหญ่ที่พร้อมจะซื้อขายทางการเงินอยู่แล้ว ซึ่งการทำแบบนี้จะช่วยลดความเสี่ยงของ broker เพราะโบรกเกอร์จะได้เงินจากค่าสเปรดโดยไม่ต้องถือออเดอร์ที่เป็นฝั่งตรงข้ามกับออเดอร์ของเรา
ราคาที่เราเห็นในโบรกเกอร์ประเภทนี้จะเป็นราคาที่โบรกเกอร์เป็นตัวกำหนดขึ้นมาเอง เอาง่ายๆเลยก็คือราคาที่เราเห็นนั้นเป็นราคาอัตราแลกเปลี่ยนเทียม แต่โบรกเกอร์ประเภทนี้ส่วนใหญ่จะอ้างอิงราคามาจากตลาดจริง รายได้ของโบรกเกอร์ประเภทนี้ส่วนใหญ่จะมาจากค่าสเปรดครับ
ลักษณะของโบรกเกอร์ประเภทนี้ส่วนใหญ่จะ Fix Spread (Spread คงที่ไม่เปลี่ยน) และค่าบริการต่างๆจะค่อนข้างถูกด้วย
โบรกเกอร์ Dealing Desks (DD) คืออะไร (9)

การทำงาน / กำไรที่โบรกเกอร์หรือเทรดเดอร์ที่จะได้

ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราส่งคำสั่งไปยังโบรกที่เป็น Dealing Desk ถ้าเราได้กำไรจากตรงนั้นโบรกเกอร์ก็จะส่งคำสั่งไปที่แบงค์เพื่อหาลูกค้าคนอื่นๆ หรือไปที่แบงค์เพื่อเอาเงินมาให้เรา ส่วนที่เสียก็จะเป็นกำไรของโบรกเกอร์ไป และรายได้อีกอันหนึ่งของโบรกเกอร์ก็คือ Spread ของโบรกที่กำหนดไว้ตายตัว หรือเราเรียกว่า Market Maker โดย Dealing Desk จะเป็นคนกำหนดราคาอันตราแลกเปลี่ยนเอง ก็คือจะเป็นราคาของโบรกเกอร์ซึ่งไม่ใช่ราคาจาก Liquidity Provider (หรือเราเรียกว่า แบงค์ หรือ จาก บ.ที่ป้อนราคา บิด และ ออฟเฟอ ให้กับโบรกเกอร์) ซึ่งเราจะไม่เห็นราคาจริงๆ จากแบงค์ครับ
โบรกเกอร์ DD  จะมีห้องรวบรวมข้อมูลของลูกค้าไว้ และจะมีพนักงานคอยตรวจสอบข้อมูลของลูกค้าบางคนที่โบรกเกอร์สามารถรับกินเองได้ ก็จะดักไว้กินเอง จะไม่ส่งเข้าตลาดฟอเร็ก  แต่ถ้ากินไม่ได้ก็จะกินแต่สเปรด และส่งข้อมูลของลูกค้าเข้าตลาด
โบรกเกอร์ DD จึงคล้ายๆคนเดินโพยหวย (แต่จะซับซ้อนกว่ามากๆ) สมมุติว่าคุณเป็นคนเดินโพยหวย งวดนี้มีคนแทงหวย 2 ตัว (เลขท้าย 2 ตัว เลขที่จะออกได้จะมีตั้งแต่ 00, 01, ... 99 ทั้งหมด 100 ตัว) ซึ่งแทง 1 บาทถ้าถูกจะได้ 70 บาท เกิดงวดนี้มีคนแทงเลขต่างๆ มา หลังจากสรุปผลก่อนนำส่งเจ้ามือแล้ว มีเลขแตกต่างกันถึง 80 ตัว (มี 20 ตัวไม่มีใครแทงเลย) ง่ายๆ ว่าแทงตัวละ 10 บาทเท่ากันหมด
โบรกเกอร์ Dealing Desks (DD) คืออะไร (6)
ถามว่าคุณจะนำส่งเจ้ามือหรือไม่ คุณก็ต้องคิดว่า ถ้าคุณส่งเจ้ามือคุณได้เปอร์เซ็นต์เท่าไหร่ แล้วถ้าคุณเก็บไว้เอง ไม่นำส่ง คุณจะได้เท่าไหร่ แน่นอนถ้าเก็บไว้เองก็จะได้เงินเท่ากับ 80x10=800 บาท ถ้าเกิดหวยออกใน 20 ตัวที่ไม่มีใครแทงก็จะได้เต็มๆ 800 แต่สมมุติหวยออกใน 80 ตัวที่มีคนแทง คุณก็จะต้องจ่ายเท่ากับ 10x70=700 (แทง 10 บาท จ่ายบาทละ 70) ก็ยังได้กำไร= 800-700=100 บาท
จะเห็นว่าคุณไม่มีสิทธิ์ขาดทุนเลยใช่ไหมครับ ถ้ามีการแทงกันกระจายเกือบครบทุกตัวแบบนี้ ที่นี้ด้านคนซื้อหวย กระทบอะไรหรือไม่ ก็ไม่กระทบครับ แทงถูก 10 บาทก็ได้ 700 เหมือเดิมครับ
อันนี้ยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆ นะครับ ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับพวกบ่อนการพนัน และพวกนายหน้า หรือคนเดินโพยทั่วไปใช้อยู่เป็นปกติ ย้ำว่าเป็น “ปกติ” นะครับ และมันไม่ได้กระทบกับผู้เล่น แต่เป็นการเพิ่มรายได้ให้คนเดินโพย
กลับมาที่ DD อาจจะต้องซับซ้อนกว่า และอาศัยข้อมูลประกอบมากขึ้นครับ เขามีระบบคอมพิวเตอร์คำนวณและเปรียบเทียบตัดสินใจหลายๆด้าน เพื่อให้ DD เองมีกำไรมากขึ้นนอกจาก spread อย่างเดียว นั่นมันก็เรื่องของ DD ครับ ไม่กระทบเราก็พอแล้ว
โบรกเกอร์ Dealing Desks (DD) คืออะไร (4)

เราจะเลือกโบรกเกอร์ประเภทไหนดี?

โบรกเกอร์แต่ละประเภทก็จะมีข้อดี-ข้อเสีย ที่แตกต่างกันออกไป เราจึงควรเลือกให้ตรงกับความต้องการของเราอย่างแท้จริง หรือประเมินจากการยอมรับได้ด้วยเหตุผลเฉพาะตัวของเราเอง อย่างเช่น ประเภท Dealing Desk (DD) ก็จะมีค่าบริการที่ค่อนข้างถูกและสเปรดคงที่ (Fix Spread) และประเภท No Dealing Desk (NDD) ก็จะมีค่าบริการค่อนข้างสูงกว่าแต่ก็ได้รับบริการที่สูงกว่า และความปลอดภัยที่มากกว่า มาชดเชยครับ
แต่อย่างไรก็ตามเราก็ควรต้องเข้าไปดูเงื่อนไขของโบรกเกอร์แต่ละบริษัทด้วยนะครับว่าเป็นอย่างไร และมีความน่าเชื่อถือสูงหรือไม่ เพราะบางทีโบรกเกอร์บางบริษัทในรูปแบบประเภท Dealing Desk (DD) อาจจะมีความน่าเชื่อถือกว่าโบรกเกอร์บางบริษัทที่เป็นประเภท No Dealing Desk (NDD) ด้วยซ้ำไปครับ
ปัจจุบันนี้ มีโบรกเกอร์ต่างๆมากมายเกิดขึ้นทำให้มีการแข่งขันกันอย่างมาก ดังนั้น โบรกเกอร์ต่างๆก็พยายามทำให้ตัวเองมีข้อดี มีจุดเด่นเยอะๆ เพื่อที่จะดึงดูดลูกค้า และถ้ามีข้อเสียมากเท่าไหร่ลูกค้าก็จะยิ่งมีน้อยลงไปเท่านั้น เพราะเดี๋ยวนี้การสมัครโบรกเกอร์ ตลอดจนกระทั่งการยืนยันตัวตนนับเป็นเรื่องง่ายๆแล้ว ลูกค้าเมื่อเห็นว่าโบรกไหนไม่เวิร์คก็สามารถเปลี่ยนใจไปใช้อีกโบรกได้โดยใช้เวลาไม่นาน เป็นสาเหตุให้โบรเกอร์ส่วนใหญ่จะไม่โกงหรือเอาเปรียบลูกค้าแบบโต้งๆหรอกครับ เน้น !.. แค่ส่วนใหญ่เท่านั้นเองนะครับ ถ้าคุณโชคร้ายไปเจอส่วนน้อย ก็รีบเปลี่ยนซะครับ....^_^
โบรกเกอร์ Dealing Desks (DD) คืออะไร (11)
ตัวอย่างโบรกเกอร์ที่เป็นแบบ โบรกเกอร์ Dealing Desks (DD)
1.โบรกเกอร์ FBS
2.โบรกเกอร์ FXCL(Fix Spread)
3.โบรกเกอร์ Fxprimus
4.โบรกเกอร์ Exness(mini, cent) เป็นต้น
โดยโบรกเกอร์ระบบ DD / Market Maker ที่น่าเชื่อถือ ส่วนใหญ่จะ Fix Spread (Spread คงที่ไม่เปลี่ยน) ครับ    
ทีมงาน : http://www.forexthai.in.th
==========================================

วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2559

โบรกเกอร์ No Dealing Desks (NDD) คืออะไร

โบรกเกอร์ No Dealing Desks (NDD) คืออะไร (2)

โบรกเกอร์  No Dealing Desks (NDD) คืออะไร

ปกติแล้วเวลาเราทำการเทรด forex เราจะต้องส่งคำสั่งซื้อ-ขาย เข้าไปที่โบรเกอร์เสียก่อน ซึ่งการทำแบบนี้นั้น บางทีเราอาจมีความรู้สึกครางแคลงใจว่า อาจมีการเก็บข้อมูลของเราเพื่อเอาไปทำสถิติในการเทรด หรืออื่นๆ ซึ่งอาจมีการตุกติกเกิดขึ้น(คิดแบบโลกไม่สวยน่ะครับ) ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาในส่วนนี้ จึงมีโบรกเกอร์แบบ No Dealing Desks (NDD) หรือแปลง่ายๆว่าเป็นโบรกเกอร์ที่ไม่ผ่านตัวกลางนั่นเอง ส่วนจะเป็นอย่างไรนั้น มาศึกษาไปพร้อมๆกันครับ
โบรกเกอร์ No Dealing Desks (NDD) คืออะไร (1)

ประเภทของโบรคเกอร์

โบรกเกอร์ ก็คือบริษัทที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการรับส่งคำสั่งของเราเข้าไปสู่ตลาด Forex โดยโบรกเกอร์จะมีอยู่ 2 ประเภทหลัก ๆ คือ
1.Dealing Desk (DD) หรือที่เรียกว่า Market Maker คือ โบรกเกอร์ที่ดำเนินการผ่านเคาน์เตอร์จัดการ (Dealing Desk) จะมีห้องรวบรวมข้อมูลของลูกค้าไว้ และจะมีพนักงานคอยตรวจสอบข้อมูลของลูกค้า ออร์เดอร์ที่คุณสั่งก็จะอยู่ในมือของโบรกเกอร์ เมื่อเราทำการซื้อขาย โบรกเกอร์ก็จะทำการจับคู่กับอีกฝั่งหนึ่งให้เรา
2.No Dealing Desk (NDD) คือ โบรกเกอร์ที่มีการส่งข้อมูล ด้านคำสั่งซื้อขายของเราเข้าไปที่ส่วนกลางโดยตรง โดยที่ไม่ผ่าน server หลักของทางโบรกเกอร์ก่อน สามารถแยกย่อยได้อีก คือ
  • Straight Through Processing (STP) คือ การประมวลผลโดยตรง
  • Electronic Communication Network + Straight Through Processing   (ECN+STP) คือ ระบบอัตโนมัติเพื่อเก็บคำสั่งซื้อที่ตรงกัน + การประมวลผลโดยตรง
ซึ่งในบทความนี้จะขอเจาะประเด็นแต่เพียง No Dealing Desk (NDD) นะครับ เนื่องจากประเภทอื่นๆได้เขียนอย่างละเอียดไว้ในหัวข้อนั้นๆแล้วครับ ลองคลิกอ่านดูได้ เพราะถ้ารวมกันไว้ที่นี้หมด หน้าเว็บจะยาวไป คนอ่านคงตาลายครับ..หุหุ
โบรกเกอร์ No Dealing Desks (NDD) คืออะไร (10)

โบรกเกอร์  No Dealing Desks (NDD) คืออะไร

No Dealing Desks (NDD) มีความหมายว่าโบรกเกอร์ที่มีการส่งข้อมูล ด้านคำสั่งซื้อขายของเราเข้าไปที่ส่วนกลางโดยตรง โดยที่ไม่ผ่าน server หลักของทางโบรกเกอร์ก่อน (ไม่ส่งคำสั่งซื้อขายของลูกค้าผ่านเคาน์เตอร์จัดการ (Dealing Desk) คือไม่ผ่านห้องตรวจสอบข้อมูลของลูกค้า) ซึ่งหมายความว่าโบรคเกอร์นั้นไม่ได้หาผลประโยชน์ทางด้านอื่นในการเทรดของลูกค้าเลย ที่โบรคเกอร์ทำก็เพียงแค่เชื่อมโยงทั้งสองฝ่ายเข้าด้วยกันเท่านั้น
โบรกเกอร์ NDDs จึงเป็นเหมือนผู้สร้างสะพานเชื่อมต่อระหว่างสองที่ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายโดยตรง โดยโบรกเกอร์ NDDs จะมีรายได้จากการเรียกเก็บค่านายหน้าที่มีขนาดเล็กมากสำหรับแต่ละการซื้อขาย หรือคิดแค่ค่าสเปรดเพียงเล็กน้อย
แต่...ลักษณะของโบรกเกอร์ประเภทนี้ส่วนใหญ่จะมีสเปรดที่ไม่คงที่และอาจจะมีค่าคอมมิชชั่น แล้วค่าบริการต่างๆที่อาจจะมีราคาสูงกว่าแบบ Dealing Desk (DD) ครับ

โบรกเกอร์ No Dealing Desks (NDD) คืออะไร (8)

ถ้าเป็นแบบนี้จะเลือกโบรกเกอร์ประเภทไหนดี?

โบรกเกอร์แต่ละประเภทก็จะมีข้อดี-ข้อเสีย ที่แตกต่างกันออกไป เราจึงควรเลือกให้ตรงกับความต้องการของเราอย่างแท้จริง หรือประเมินจากการยอมรับได้ด้วยเหตุผลเฉพาะตัวของเราเอง อย่างเช่น ประเภท Dealing Desk (DD) ก็จะมีค่าบริการที่ค่อนข้างถูกและสเปรดคงที่ และประเภท No Dealing Desk (NDD) ก็จะมีค่าบริการค่อนข้างสูงกว่าแต่ก็ได้รับบริการที่สูงกว่า และความปลอดภัยที่มากกว่า มาชดเชยครับ
แต่อย่างไรก็ตามเราก็ควรต้องเข้าไปดูเงื่อนไขของโบรกเกอร์แต่ละบริษัทด้วยนะครับว่าเป็นอย่างไร และมีความน่าเชื่อถือสูงไม เพราะบางทีโบรกเกอร์บางบริษัทในรูปแบบประเภท Dealing Desk (DD) อาจจะมีความน่าเชื่อถือกว่าโบรเกอร์บางบริษัทที่เป็นประเภท No Dealing Desk (NDD) ด้วยซ้ำไปครับ
ปัจจุบันนี้ มีโบรกเกอร์ต่างๆมากมายเกิดขึ้นทำให้มีการแข่งขันกันอย่างมาก ดังนั้น โบรกเกอร์ต่างๆก็พยายามทำให้ตัวเองมีข้อดี มีจุดเด่นเยอะๆ เพื่อที่จะดึงดูดลูกค้า และถ้ามีข้อเสียมากเท่าไหร่ลูกค้าก็จะยิ่งมีน้อยลงไปเท่านั้น เพราะเดี๋ยวนี้การสมัครโบรกเกอร์ ตลอดจนกระทั่งการยืนยันตัวตนนับเป็นเรื่องง่ายๆแล้ว ลูกค้าเมื่อเห็นว่าโบรกไหนไม่เวิร์คก็สามารถเปลี่ยนใจไปใช้อีกโบรกได้โดยใช้เวลาไม่นาน เป็นสาเหตุให้โบรเกอร์ส่วนใหญ่จะไม่โกงหรือเอาเปรียบลูกค้าแบบโต้งๆหรอกครับ เน้น !.. แค่ส่วนใหญ่เท่านั้นเองนะครับ ถ้าคุณโชคร้ายไปเจอส่วนน้อย ก็รีบเปลี่ยนซะครับ....^_^
โบรกเกอร์ No Dealing Desks (NDD) คืออะไร (5)

ประโยชน์ของการเลือกโบรกเกอร์  No Dealing Desks (NDD)

1.ส่งคำสั่งซื้อขายได้อย่างรวดเร็ว
ประโยชน์ข้อแรกของการใช้ No Dealing Desks (NDD) คือ เราสามารถทำคำสั่งซื้อหรือขายไปได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งความเร็วตรงนี้มีผลโดยตรงต่อการเทรด forex เพราะยิ่งถ้าเป็นช่วงที่ตลาดมีการแกว่งตัวแรงๆ ถ้าเราสามารถเข้าไปเทรดได้ทัน นั่นหมายความว่าเราสามารถทำเงินและทำกำไรได้เร็วกว่ามากกว่า หรือรีบตัดการขาดทุนได้เร็วกว่าโบรกเกอร์ที่ไม่ใช่ No Dealing Desks (NDD) ครับ
2.ได้ราคาที่ใกล้เคียงกับราคาจริง
ข้อนี้จะมีส่วนสำคัญช่วยให้เรานั้นสามารถเลือกกลยุทธ์ในการทำการตลาดได้ง่ายยิ่งขึ้น อันเนื่องมาจากราคาที่มีความใกล้เคียงกับราคาจริงมากๆนั่นเอง ถ้าเป็นโบรกเกอร์ที่ไม่ใช่เป็นแบบ NDD แล้ว ก็อาจจะไม่สามารถทำลักษณะแบบนี้ได้
3.ค่าเสปรดมีการแกว่งตัวหลายแบบ
ข้อดีต่อมาคือเรื่องของค่า สเปรดที่มีการแกว่งตัวหลายแบบขึ้นอยู่กับลักษณะ และช่วงเวลาของการเทรด หลักการง่ายๆคือ ถ้าช่วงเวลาดังกล่าวมีผู้เข้าทำการเทรด forex ในคู่เงินนั้นน้อยๆ ก็จะทำให้ค่าตัวนี้มีราคาสูง แต่ในทางตรงกันข้าม ก็จะทำให้มีราคาต่ำเช่นกัน จึงสามารถประยุกต์ข้อมูลตรงนี้ในการวางแผนการเทรดได้ อย่างเช่น การชิพไปเทรดในคู่เงินที่มีสเปรดต่ำๆครับ
โบรกเกอร์ No Dealing Desks (NDD) คืออะไร (6)

โบรกเกอร์ที่เป็นแบบโบรกเกอร์  No Dealing Desks (NDD) 

ได้แก่
1.โบรกเกอร์ exness
2.โบรกเกอร์ FBS
3.โบรกเกอร์ instaforex
4.โบรกเกอร์ forex4you
โบรกเกอร์ No Dealing Desks (NDD) คืออะไร (4)

บทสรุป

จะเห็นว่าการเทรด forex นั้นหากเราเลือกโบรกเกอร์ประเภท โบรกเกอร์  No Dealing Desks (NDD) เราจะรู้สึกมีความมั่นใจกว่าการเลือกโบรกเกอร์ที่ไม่ใช่แบบนี้เนื่องจากว่า ทำให้เรารู้สึกว่าข้อมูลต่างๆนั้นจะไม่ถูกขโมยออกไป หรือว่าเอาไปเล่นตุกติกก่อน อาจเป็นผลที่ทำให้เราได้กำไรน้อยลง ทำให้มั่นใจได้ว่า ราคาซื้อขาย ของคุณ เป็นอิสระจากการแทรกแซง ทำให้คุณสามารถจดจ่อกับการซื้อขายของคุณได้เป็นอย่างดี และสามารถ ส่งคำสั่งซื้อขายได้อย่างรวดเร็ว ได้ราคาที่ใกล้เคียงกับราคาจริง ซึ่งนี่ถือเป็นคำศัพท์อีกคำที่สำคัญมาก ดังนั้นก่อนเลือกโบรเกอร์อันไหน อย่าลืมดูรายละเอียดในแง่มุมต่างๆให้ชัดเจนด้วยนะครับ
==========================================

วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2559

affiliate, IB, partners, รีเบต คืออะไร

affiliate, IB, partners, รีเบต คืออะไร (3)

affiliate, IB, partners, รีเบต คืออะไร

โดยปกติแล้วเราสามารถเทรดทำกำไรจากตลาด forex ได้อย่างไม่ยากนัก แต่สิ่งหนึ่งที่ถือว่ามีความสำคัญมากๆเลยสำหรับวงการการเทรด forex คือคุณสามารถทำกำไรได้เพิ่มขึ้น จากการชักชวนคนอื่นๆให้เข้ามาร่วมเทรดกับคุณผ่านทางรหัสของคุณ ซึ่งคุณก็จะได้ ค่าคอมมิชชั่นด้วย คล้ายๆกับการเป็น Mar ในตลาดหลักทรัพย์บ้านเรานั่นเอง
affiliate, IB, partners, รีเบต คืออะไร (1)

affiliate คืออะไร

โดยทั่วไป Affiliate คือระบบการกระจายสินค้าและบริการของจากเจ้าของกิจการ ผ่านคนกลางหรือนักการตลาดออนไลน์ (Internet Marketer) ซึ่งเจ้าของกิจการจะแบ่งสัดส่วนทางการตลาดให้นักการตลาดแล้วแต่จะตกลงเงื่อนไขกัน
Affiliate นั้นมีหลายประเภท ได้แก่
  • CPA (Cost per action) ลักษณะ คือ เมื่อนักการตลาด ได้ทำการตลาด จนได้รายชื่อและที่อยู่ติดต่อของลูกค้าผู้สนใจมา นักการตลาดก็จะได้ส่วนแบ่งตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน
  • PPC (Pay per click) ลักษณะ คือ เป็นการติดโฆษณาไว้ในเว็บไซต์โดยส่วนใหญ่ เมื่อคนมาคลิกโฆษณา เว็บมาสเตอร์ก็จะมีรายได้
ในวงการตลาด Forex นั้น affiliate หรือ Affiliate Marketing แปลว่า พัทธมิตรทางด้านการตลาด หมายถึงการเป็นตัวแทนหรือนายหน้า ในลักษณะที่ให้คนอื่นๆมาสมัครสมาชิกผ่านลิ้งค์ของเรา หรือเว็บไซต์ของเราที่เราโปรโมทเอาไว้ โดยปกติแล้วการทำ affiliate มักจะอยู่ในรูปของลิ้งค์ ref. โดยใครก็ตามที่สมัครผ่านลิ้งค์ของเรา เราก็จะได้รับผลตอบแทนในรูปแบบของ % หรือว่าค่าคอมมิชชั่นครับ อ้อ...โดยปกติแล้วคำว่า affiliate นี้จะมีทั้งชนิดที่ได้เพียงครั้งเดียวและชนิดที่ได้อย่างต่อเนื่องทุกครั้งที่สมาชิกมีการเทรดนะครับ แน่นอนแบบแรกจะได้ตูมเดียวหนักกว่า แต่ผมว่าระยะยาวแบบหลังจะคุ้มกว่านะครับ ซึ่งอันนี้คุณจะต้องอ่านเงื่อนไขให้ดีครับ

affiliate, IB, partners, รีเบต คืออะไร (2)

IB คืออะไร

IB ย่อมาจาก Introducing Broker ซึ่งแปลเป็นไทยว่า ผู้แนะนำโบรกเกอร์ ก็คือโปรแกรมแนะนำสมาชิกแบบหนึ่งครับ โดยเราจะมี referral link (เรียกย่อๆ ว่า ref. Link ซึ่งดูได้ที่ cabinet) ที่สามารถนำไปโปรโมทให้มีคนมาสมัครเพื่อเปิดบัญชีเทรดต่อจาก link ของเรา ซึ่งเราจะได้รับคอมมิชชั่นประมาณ 1 pip ต่อ order ที่สมาชิกคนนั้นทำการสั่ง ซื้อ/ขาย ทั้งนี้แต่ละ order ต้องปิด +/- ไม่น้อยกว่า 4 จุด (ซึ่งอันนี้ก็แล้วแต่ข้อตกลงแต่ละโบรกนะครับ)
ดังนั้น IB จึงหมายถึงการเป็นตัวแทน เช่นเดียวกัน เป็นคำที่ใช้เรียกเหมือนๆกับคำว่า affiliate แต่แตกต่างกันในเรื่องของรายละเอียดหรือแล้วแต่ว่าแต่ละโบรกจะเลือกใช้คำไหนครับ ดังนั้นคุณจึงต้องเข้าไปดูแต่ละบริบทว่าแต่ละที่นั้นมีการใช้คำใด บางโบรกเกอร์มีการใช้คำว่า IB แต่บางโบรกเกอร์มีการใช้คำว่า affiliate แต่ทั้งสองนั้นมีความหมายคล้ายๆกันครับ
affiliate, IB, partners, รีเบต คืออะไร (4)

Partner คืออะไร

Partner ถ้าแปลกันตรงๆตัวจะหมายความว่า “หุ้นส่วน” ในที่นี่คือหุ้นส่วนทางธุรกิจ แต่สำหรับการเทรด forex แล้ว การเป็น partner ก็เหมือนกับสองข้อแรกนั่นแหละครับ กล่าวคือ เป็นทั้งในส่วนของ affiliate และในส่วนของ IB ซึ่งทั้งสองส่วนก็คือการเป็นตัวแทนหรือนายหน้าเช่นเดียวกัน แต่แตกต่างกันที่โบรเกอร์แต่ละที่นั้นจะเรียกว่าอะไร หรือประดิษฐ์คำอย่างไร โดยคำว่า Partner หรือหุ้นส่วนนี้จะให้ความหมายดูอบอุ่นและดูให้ความสำคัญเกี่ยวกับทีมงานที่ช่วยหาลูกค้ามาก เป็นการให้เกียรติถึงระดับในฐานะเพื่อนร่วมงานเลยทีเดียว เพราะว่าผลกำไรที่โบรกได้นั้น สำหรับในวงการนี้มันมากมายทีเดียวครับ
affiliate, IB, partners, รีเบต คืออะไร (5)

รีเบต คืออะไร

รีเบต (rebate) คือ การคืนส่วนลดล็อตการเทรด โดยการคืนจะคืนมาในรูปแบบของค่าคอมมิชชั่น เป็นการคืนเงินค่าธรรมเนียมให้กับนักลงทุน ซึ่งเป็นสิทธิประโยชน์ของผู้ที่ทำ affiliate, เป็น IB, เป็น Partner หรือ Trader ที่สมัครผ่านบุคคลดังกล่าว ซึ่งการทำรีเบตนั้นก็จะมีระยะเวลาในการทำ และสัดส่วนในการทำรีเบตด้วย โดยการทำรีเบตนั้นจะมีผลตอบแทนอย่างไร มีเงื่อนไขในการทำรีเบตอย่างไร อันนี้ต้องไปศึกษาเป็นโบรกๆไปนะครับ จริงๆแล้วเงินจำนวนนี้ก็คือเงินที่เรียกเก็บมาจากนักลงทุน ซึ่งส่วนใหญ่โบรกเกอร์ได้มาจาก ค่าสเปรด (spread) และ ค่าคอมมิสชั่น (commission) ครับ
ดังนั้นค่ารีเบทที่ได้ จะมากจะน้อยมักแปรผันตามค่าสเปรด เช่น ถ้าโบรกเกอร์ A เก็บค่าสเปรดสูง ก็สามารถมีเงินส่วนแบ่งคืนให้กับนักลงทุนได้มากขึ้น แต่โดยปกติแล้ว โบรกเกอร์จะไม่คืนเงินเหล่านั้นให้ Trader เอง ต้องทำผ่าน IB (Introducing broker) หรืออื่นๆดังกล่าวข้างต้น
คือนักลงทุน(Treader)แล้ว โดยปกติ เมื่อเปิดบัญชีผ่านโบรกเกอร์โดยตรง โบรกเกอร์จะไม่มีการจ่าย rebate ให้ นั่นหมายความว่า 100% ของคอมมิชชั่นที่จ่ายไป โบรกเกอร์กินเรียบครับ แต่ก็จะมีบางโบรกอีกที่มีระบบจ่าย rebate คืนแก่ลูกค้าผ่านทาง IB เป็นเทคนิคการจูงใจ IB และ Treader คือ... หากว่ามี IB มาคั่นกลาง ! นักลงทุนก็จะสามารถได้รับเงินคืนจากโบรกเกอร์ (ซึ่งจ่ายไม่เท่ากันในแต่ละโบรกเกอร์) ส่วนโบรกเกอร์ก็ชอบใจที่ IB หาลูกค้ามาให้ได้มากๆนั่นเองครับ พูดกันง่ายๆว่า นักลงทุน(Treader), IB และโบรกเกอร์ ทั้งสามส่วนได้ประโยชน์จากกระบวนการนี้ทั้งหมดครับ
ดังนั้นผมเห็นว่าการสมัครผ่าน IB ต่างๆนั้นในแง่เงินทองที่ไม่รั่วไหลออกไปนอกประเทศเสีย  100 % (เพราะโบรกเกอร์ทั้งหมดตอนนี้เป็นของต่างชาติทั้งสิ้น ยังส่งกลับมาทาง IB ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนไทย)แล้ว ยังมีดีในแง่ที่ว่าคุณอาจได้รับ rebate คืนในบางโบรกหรือบางช่วงครับ
อ้อ...เงินรีเบทถือเป็นเงินสดนะครับ เพราะฉะนั้น จะไม่มีเงื่อนไขการถอน ว่าต้องเทรดครบกี่ Lot เมื่อได้มาจะถอนก็ถอนได้เลย หรือจะเทรดก็ได้ ไม่มีข้อผูกพันใดๆครับ ไม่เหมือนโบนัส ที่จะต้องทำตามเงื่อนไขให้ครบก่อนถึงจะถอนได้ครับ
Рисунок 3

ประโยชน์ที่เราจะได้รับในฐานะ affiliate, IB หรือ partners

  1. สามารถได้รับ Commissions เป็นผลตอบแทนในรูปของ % จากการเทรดของคนที่เราชักชวนให้สมัครเทรดกับโบรกเกอร์ forex ผ่านเรา โดยผู้ชักชวนจะได้รับทั้ง % จากการสมัคร และ % จากทุกๆยอดเทรดอีกด้วย ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการได้เงินเพิ่มจากการเทรด forex ที่คุณควรทราบครับ
  1. ได้รับส่วนลดด้านค่าธรรมเนียมต่างๆ เช่น ค่าฝากถอน หรืออาจเป็นการลดค่าสเปรดในการเทรดก็ได้ หรืออื่นๆตามแต่เงื่อนไขแต่ละโบรกเกอร์ครับ

การได้มาซึ่ง Commissions นี้

1.ได้มาจากการชักชวน
วิธีการได้มาซึ่งค่า Commissions แบบแรกจะได้มาจากการชักชวนคนให้มาสมัครเป็นสมาชิกกับทางโบรกเกอร์ต่างๆ ผ่านลิงค์ของเรา ซึ่งจำนวน % หรือว่าผลตอบแทนที่เราจะได้รับนั้นก็มีความแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละโบรกเกอร์ โดยปกติหากเป็นโบรกเกอร์ชั้นนำ มักมีการจ่าย Commissions ค่อนข้างสูงซึ่งจะจูงใจ IB ได้มากทีเดียว
2.ได้มาจากการเทรด forex ในแต่ละครั้งของสมาชิก
อีกแบบหนึ่งที่เราจะได้ค่า Commissions เป็นจำนวนมาก คือการเทรดของเพื่อนสมาชิกที่สมัครโบรกเกอร์นั้นต่อจากเรา ยิ่งมีจำนวนตาที่เทรดมากเท่าไหร่ เราก็จะได้ค่า Commissions ในส่วนนี้เพิ่มขึ้นมากเท่านั้น นั่นหมายความว่าหาก IB สร้างให้ลูกทีมเก่งได้มากขนาดไหน ก็จะทำให้ IB มีส่วนในค่าตอบแทนที่สูงขึ้นด้วย
affiliate, IB, partners, รีเบต คืออะไร (7)

วิธีการหา Commissions

1.ทำคลิปการสอน
แบบแรกที่ผมอยากจะแนะนำคุณคือ ให้ทำคลิปการสอนออกมาเลยครับ คลิปการสอนที่ดีจะสามารถช่วยให้คุณนั้นทำเงินได้อย่างไม่ยากนัก เพราะว่าเมื่อผู้ชมนั้นเข้าชมคลิปของคุณ เขาก็อยากจะทำกิจกรรมต่างๆผ่านทางเว็บไซต์หรือทางลิ้งค์สมัครสมาชิกของคุณเป็นการตอบแทนนั่นเอ
2.ทำเว็บ หนังสือ E-Book สอนการเทรด
ผมว่าอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถช่วยให้เราหาค่า Commissions  ได้คือ การทำเว็บไซต์, E-book หรือสื่อการสอน Forex เพื่อดึงดูดให้มีคนมาสมัครผ่านลิงค์ของเราการทำแบบนี้ถือเป็นแนวทางประการสำคัญประการหนึ่งที่ช่วยให้คุณสามารถหาค่า Commissions ได้อย่างง่ายๆเลยครับ
3.จัดอบรมสัมมนา Forex
พบว่าจำนวนไม่น้อยทีเดียวที่บรรดาเซียน Forex ใช้วิธีนี้ เหมือนน้ำพึงเรือเสือพึ่งป่า คุณสอนให้เขาเทรดเป็น เขาก็ตอบแทนคุณโดยการสมัครผ่านลิ้ง IB ของคุณครับ

affiliate, IB, partners, รีเบต คืออะไร (8)
บทสรุป
สรุปแล้ว คำศัพท์ทั้งหมดที่นำมาเสนอในบทความนี้นั้นจะเกี่ยวข้องกับเรื่องของการเป็นตัวแทน นายหน้า ชักชวนคนอื่นๆเข้ามาสมัครเป็นสมาชิกกับทางโบรกเกอร์ ซึ่งสามารถช่วยให้คุณมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเทรด forex โดยทุกครั้งที่มีการสมัครสมาชิก และทุกๆยอดเทรดของสมาชิก คุณก็จะได้รับส่วนแบ่งจากการเทรดนั้นด้วย นั่นหมายความว่า แม้คุณอาจจะไม่เทรด forex เองแต่อย่างใด คุณก็สามารถทำเงินได้ด้วยโปรแกรมนายหน้า ตามชื่อเรียกที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นนี้ครับ
==========================================